มลพิษอยู่ใกล้แค่ปลายจมูก อันตรายแค่ไหน ต้องรู้เพื่อรับมือ

มลพิษอยู่ใกล้แค่ปลายจมูก อันตรายแค่ไหน ต้องรู้เพื่อรับมือ

บ่อยครั้งที่เรามักจะลืมให้ความสำคัญกับสิ่งใกล้ตัว แม้แต่อากาศที่เราหายใจอยู่ทุกนาทีเพื่อให้ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย

รู้หรือไม่? ระหว่างวันเราหายใจมากถึง 12 – 20 ครั้งต่อนาที แต่ละชั่วโมงจะรับอากาศเข้าไปในปอดสูงถึง 600 ลิตร และเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในขณะที่ออกกำลังกาย

แล้วรู้หรือไม่? ในอากาศไม่ได้มีแค่ออกซิเจน แต่ยังมีก๊าซอย่างคาร์บอนไดออกไซด์ มีอนุภาคสสารต่าง ๆ ที่เป็นมลพิษ และตามองไม่เห็นทั้งฝุ่นละออง PM2.5 แบคทีเรีย เชื้อโรค ไปจนถึงสาร VOCs และฟอร์มาลดีไฮด์ที่ระเหยมาจากสี สารเคลือบวัสดุในบ้าน ที่คายตัวออกมานานนับสิบปี

จมูกของเรามีกลไกการกรองอากาศย่อม ๆ อยู่ในตัว เป็นด่านแรกในการป้องกันอันตรายให้กับระบบหายใจ โดยมีขนในจมูกและเยื่อเมือกบริเวณจมูกส่วนหน้าคอยดักจับสิ่งสกปรกหรือกรองฝุ่นที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 4 ไมครอน ส่วนฝุ่นละเอียดอย่าง PM2.5 รวมถึงฝุ่นที่เล็กกว่า 4 ไมครอน จะถูกขนในโพรงจมูกพัดให้เข้าไปในกระทบผนังโพรงจมูก ละลายในเยื่อเมือก แล้วเคลื่อนตัวไปยังลำคอด้านหลัง ขับออกมาเป็นเสมหะหรือถูกกลืนลงไปในหลอดอาหาร

ร่างกายมนุษย์มีข้อจำกัด เมื่อเราสูดรับฝุ่นเล็ก ๆ เข้าไปมาก ๆ โดยเฉพาะ PM2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาในประเทศไทย กลไกเหล่านี้อาจทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพและไม่สามารถกรองได้ทั้งหมด ในขั้นต้นอาจเกิดอาการอักเสบที่เยื่อบุจมูก โดยเฉพาะผู้ที่เป็นภูมิแพ้จะไวต่อการกระตุ้นเป็นพิเศษและได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว และถ้าฝุ่นละเอียดมีปริมาณมาก ๆ อาจจะผ่านโพรงจมูกเข้าไปถึงถุงลมในปอดทำให้เกิดการอักเสบและระคายเคือง ฝุ่นสามารถเข้าไปทำให้ตัวรับเซลล์ในปอดประสิทธิภาพลดลงส่งผลให้ปอดอ่อนแอและติดเชื้อได้ง่าย ฝุ่นเล็กละเอียดสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดไปรบกวนการทำงานของระบบต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดผลกระทบอีกมากมายในระยะยาว

ดังนั้นผลกระทบจากฝุ่นจึงไม่ใช่แค่การเจ็บคอหรือจมูกตันในวันนี้ แต่เป็นปัญหาสุขภาพระยะยาวที่เราไม่รู้ตัว

โรคมะเร็งปอดและการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เป็น 2 ใน 10 สาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในประเทศไทย

ส่วนฝุ่นละเอียดอย่าง PM2.5 รวมถึงฝุ่นที่เล็กกว่า 4 ไมครอน จะถูกขนในโพรงจมูกพัดให้เข้าไปในกระทบผนังโพรงจมูก

ทางป้องกันง่าย ๆ คือใช้ชีวิตนอกบ้านให้น้อยลง หาเครื่องฟอกอากาศดี ๆ ประสิทธิภาพสูงไว้ในบ้านสักเครื่อง แต่ถ้าเรายังจำเป็นต้องออกไปข้างนอกล่ะ นอกจากการใส่หน้ากากกันฝุ่นแล้ว ทุกวันนี้ยังมีตัวช่วยมาเสริมการลดฝุ่นที่ต้องหายใจเข้าไปให้น้อยลงได้อีก อย่างเทคโนโลยี Negative Ion (ไอออนประจุลบ) ซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลายในเครื่องฟอกอากาศมาก่อน แต่ปรับให้ใช้งานง่าย พกพาไปได้ทุกที่ เรียกว่า เครื่องฟอกอากาศแบบพกพาชนิดไอออน โดยไอออนลบจะเข้าจับกับอนุภาคเล็ก ๆ ที่เรามองไม่เห็นและลอยอยู่ในอากาศให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หนักขึ้นและตกลงออกจากระยะหายใจของเรา

ซึ่งปริมาณของไอออนและการออกแบบให้เหมาะกับระยะหายใจก็มีผลกับการทำงาน ทั้งตำแหน่งของช่องปล่อยที่ช่วยให้ไอออนไปถึงใบหน้าได้และปริมาณกับรอบการปล่อยที่มีความถี่เพียงพอกับจำนวนครั้งที่หายใจ

แน่นอนว่าคงไม่มีทางออกที่จะป้องกันฝุ่นได้ 100% แต่การมีตัวช่วยที่จะช่วยให้เรารับมือกับปัญหาฝุ่นและมลพิษที่ดูจะยังไม่มีมาตรการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน ก็ยังพอช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจขึ้นในแต่ละวัน

ible airvida เครื่องฟอกอากาศแบบพกพาที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ออกแบบมาให้ใช้กับใบหน้าโดยเฉพาะ ด้วยเทคโนโลยีไอออน

ible airvida เครื่องฟอกอากาศแบบพกพาที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ออกแบบมาให้ใช้กับใบหน้าโดยเฉพาะ ด้วยเทคโนโลยีไอออน ปล่อยไอออนลบมากถึง 2 ล้านประจุ ทุก 0.6 วินาที ช่วยดักจับฝุ่นละออง PM2.5 สารก่อภูมิแพ้ แบคทีเรีย เชื้อโรค รวมถึงสารระเหยต่าง ๆ ให้ตกสู่พื้นก่อนการหายใจ

รู้จักกับ ible เพิ่มเติม: http://bit.ly/3pVcaLl

3 สาเหตุที่อาจเป็นอันตรายกับระบบทางเดินหายใจของเด็ก

เปิดเทอมครั้งนี้ 🎒 ผู้ปกครองต้องใส่ใจสุขอนามัยของลูกเป็นพิเศษ เนื่องจากระบบภูมิต้านทานในเด็กยังไม่แข็งแรง จึงอาจป่วยได้ง่าย ซึ่งเชื้อต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายนั้นอยู่ใกล้ตัวลูกมากกว่าที่คิด เพียงการหายใจหรือคลุกคลีกับคนรอบข้างก็นับได้ว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของเด็ก ๆ

3 สาเหตุที่อาจเป็นอันตรายกับระบบทางเดินหายใจของเด็ก แต่เรามักจะมองข้าม

แบคทีเรียและสารก่อภูมิแพ้

แบคทีเรียและสารก่อภูมิแพ้ ที่แพร่กระจายอยู่ทั้งในอากาศและติดบนพื้นผิว เมื่อเด็ก ๆ ไปเล่นในพื้นที่ต่าง ๆ ของโรงเรียนหรือมีลมพัด เชื้อเหล่านี้ก็อาจฟุ้งกระจายเข้าสู่ระบบหายใจ ส่งผลให้ลูกป่วยได้

ฝุ่นละเอียด PM2.5

ฝุ่น PM2.5 ที่ลูกต้องเผชิญตั้งแต่ก้าวเท้าออกจากบ้าน ที่นอกจากจะเกิดผลทันทีอย่างอาการไอ เจ็บคอ หรือหายใจลำบาก ไปจนถึงอาการแสบจมูก น้ำมูกไหล หอบหืด ยังส่งผลในระยะยาวกับปอด รวมถึงพัฒนาการทางสมองที่ช้าลง

สารระเหยก่อมะเร็ง ฟอร์มาลดีไฮด์

การระเหยของฟอร์มาลดีไฮด์ หรือสารเคมีที่อยู่ในสี สารเคลือบต่าง ๆ ของเล่น และสีทาผนัง ซึ่งถ้ามีปริมาณมากอาจทำให้แสบตาทันที แต่ในระดับปกติจะทำให้เกิดการสะสมในร่างกายและเป็นสารก่อมะเร็งในที่สุด

ซึ่งอันตรายเหล่านี้ การสวมหน้ากากอนามัยเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะเด็ก ๆ อาจไม่ยอมสวมใส่ตลอดเวลา และอนุภาคเหล่านี้เล็กมากเกินกว่าที่หน้ากากจะกรองได้หมด เครื่องฟอกอากาศแบบพกพาที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับบริเวณใบหน้าโดยเฉพาะ จึงเป็นอีกทางในการช่วยลดความเสี่ยง เพราะไอออนลบที่ผลิตออกมาปริมาณมากจะเข้าไปจับกับอนุภาคเหล่านั้นให้ตกลงสู่พื้นก่อนการหายใจ ดักจับทั้งฝุ่นละเอียด PM2.5 แบคทีเรีย สารก่อภูมิแพ้ และสารก่อมะเร็งฟอร์มาลดีไฮด์ ได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าลูกจะต้องออกไปไหนก็มั่นใจกับอากาศที่สะอาดขึ้น 🌱

แนะนำสำหรับคุณ

ible Airvida มีทั้งหมดกี่รุ่น

ible เครื่องฟอกอากาศเเบบพกพา จะมีทั้งหมด 3 รุ่น

1. Airvida M1 ใช้งานได้หลากหลายรูปเเบบ ทั้งสวมใส่แบบสร้อยคอใช้เหน็บบริเวณปกเสื้อ หรือวางเป็นเครื่องฟอกอากาศเเบบตั้งโต๊ะ มีสีดำและสีขาว ราคา 7,990.-

2. Airvida L1 ดีไซน์สวยงามคล้ายเครื่องประดับ ใส่คล้องจากด้านหลังที่คอ มีสีดำ ขาว ชมพู ราคา 7,990.-

3. Airvida C1 (สำหรับเด็กดีไซน์น่ารัก สวมใส่แบบสร้อยคอ มีสีเหลือง และเทา ราคา 6,990.- 

*ในสภาวะแวดล้อมเปิดโล่ง แนะนำให้ใช้ควบคู่กับหน้ากาก อนามัย เพื่อการป้องกันฝุ่น PM2.5 ที่ดียิ่งขึ้น

 

หลักการทำงานของ ible Airvida

หลักการทำงานของ ible Airvida 

โดยเทคโนโลยี Negative Ion ของ ible เครื่องฟอกอากาศเเบบพกพานั้น จะทำการปล่อยประจุลบสูงสุดกว่า 2 ล้านประจุทุก ๆ 0.6 วินาที เพื่อสร้างเป็นม่านไอออนขนาดประมาณ 15 – 30 cm. บริเวณหน้า ที่จะตรงเข้าจับอนุภาคขนาดเล็กต่างๆ ในอากาศ ไม่ว่าจะเป็น PM2.5 ควันบุหรี่ ละอองเชื้อโรค สารก่อมะเร็งฟอร์มาลดีไฮด์ ละอองเกสรดอกไม้ สารก่อภูมิเเพ้ เศษผิวหนังและขนของสัตว์เลี้ยง ให้มีน้ำหนักมากขึ้นเเละตกลงสู่พื้น ก่อนที่เราจะหายใจเข้าไป

สามารถดูคลิปการทดสอบการใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ที่คลิปด้านล่างนี้นะคะ

- บทความที่เกี่ยวข้อง -

โอโซนใน ible อันตรายจริงไหม

 

โอโซนจาก ible อันตรายจริงไหม

โอโซนจาก ible ปลอดภัย ไร้กังวล” ible เครื่องฟอกอากาศเเบบพกพาชนิดไอออนปล่อยประจุลบกว่า 2 ล้านประจุ เเต่ปล่อยโอโซนต่ำกว่าเพดานที่องค์การอนามัยโลก รวมถึงสหภาพยุโรปกำหนดไว้ถึง 8 เท่า เเละต่ำกว่าโอโซนที่มีอยู่ในอากาศของกรุงเทพถึง 2.5 เท่า !!!

แต่ปริมาณโอโซนมากเท่าไรถึงเริ่มส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ ?

หากรับโอโซนมากถึง 0.25 ppm ขึ้นไปจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย เเต่องค์กรอนามัยโลก หรือ WHO ได้กำหนดไว้ว่าปริมาณโอโซนในอากาศที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย หรือ อยู่ในระดับที่ปลอดภัยนั้น ไม่ควรเกิน 0.064 ppm เเต่ปริมาณโอโซนที่เกิดขึ้นจาก ible เครื่องฟอกอากาศเเบบพกพาชนิดไอออนนั้นไม่เกิน 0.008 ppm ซึ่งต่ำกว่าประมาณ 8 เท่า

แล้วอากาศในชีวิตประจำวันที่เราอยู่นั้น มีโอโซนอยู่หรือไม่ ?

คงต้องตอบว่า มีอย่างแน่นอน จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ในปี 2561 สามารถวัดค่าโอโซนจากอากาศในกรุงเทพ เฉลี่ยต่อทั้งปี ได้ถึง 0.018 ppm ซึ่งยังคงจัดอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่องค์กรอนามัยโลกกำหนดไว้

เเล้ว ible ผลิตโอโซนได้อย่างไร ?

ด้วยเทคโนโลยี Negative Ion ที่ปล่อยประจุลบกว่า 2 ล้านประจุทุก ๆ 0.6 วินาที เพื่อเข้าจับอนุภาคต่าง ๆ ในอากาศให้มีน้ำหนักมากขึ้น ก่อนจะตกลงสู่พื้น ทำให้ตัวประจุลบบางส่วนเข้าไปจับกับออกซิเจน ( O2 ) จึงทำให้เกิด ‘โอโซน ( O3 )’ ขึ้น เเต่ในปริมาณที่ไม่เกิน 0.008 ppm ซึ่งต่ำกว่าเพดานของสหภาพยุโรป รวมทั้งองค์กรอนามัยโลกเกือบ 8 เท่า เเละต่ำกว่าโอโซนที่มีอยู่ในกรุงเทพถึง 2.5 เท่า

คุณจึงมั่นใจได้ว่า ‘โอโซน’ ที่เกิดจาก ible เครื่องฟอกอากาศเเบบพกพาชนิดไอออน อยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลผลกระทบต่อร่างกายของมนุษย์ 

#CleanAirEverywhere #iblethailand

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
https://bit.ly/2pyVfnL
https://bit.ly/2ND8jCT
https://bit.ly/2o2mZ3r

- บทความที่เกี่ยวข้อง -

7 จังหวัดในไทย มีปริมาณฝุ่นPM2.5 เข้าขั้นวิกฤต “ติดอันดับโลก”

7 จังหวัดในไทย มีปริมาณฝุ่นPM2.5 เข้าขั้นวิกฤต "ติดอันดับโลก"

PM2.5 ในไทย วัดค่าความหนาเเน่นเฉลี่ยได้มากถึง 26.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยตามที่องค์การอนามัยโลกประกาศไว้ (ไม่เกิน10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ถึง2-3เท่า เป็นอันดับ3 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เเละมีถึง 7จังหวัด ที่ติดอันดับ 10เมืองที่มีมลพิษสูงที่สุดในภูมิภาค
.
ค่าเฉลี่ย PM2.5 สูงขนาดนี้อันตรายอย่างไร?

การได้รับ PM2.5 ในความหนาเเน่นนี้ หากได้รับเฉลี่ยติดต่อกัน 24ชั่วโมง จะมีอันตรายต่อสุขภาพเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ประมาณ 1-2 มวนต่อวัน!
.
PM2.5 ในไทยมีสาเหตุมาจากอะไร?

โดยทั่วไปเเล้ว แหล่งกำเนิดมลพิษในประเทศไทยมาจากการเผาในที่โล่ง การปลดปล่อยจากยานพาหนะ การขนส่ง เเละโรงงานอุตสาหกรรม
.
มีจังหวัดใดบ้าง เแต่ละที่มีค่ามลพิษสูงเท่าใด?

จากรายงานของ IQAir Airvisual เมืองที่มีมลพิษสูงที่สุดในภูมิภาค คือ เมืองจาการ์ตา อินโดนีเซียที่มีค่าเฉลี่ยมลพิษสูงถึง 45.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ตามมาด้วย อันดับที่ 2 เมืองฮานอย เวียดนาม 40.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

อันดับที่ 3 สมุทรสาคร 39.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

อันดับที่ 4 นครราชสีมา 37.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

อันดับที่ 5 หนองคาย 37.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

อันดับที่ 6 สระบุรี 32.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

อันดับที่ 7 เมย์กาวายัน ฟิลิปปินส์ 32.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

อันดับที่ 8 สมุทรปราการ 32.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

อันดับที่ 9 ราชบุรี 32.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

อันดับที่ 10 เเม่สอด 32.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
.
แล้วทำไมถึงไม่มีกรุงเทพฯ?

เนื่องจากเป็นค่าเฉลี่ยที่วัดตลอดปี เเม้บางช่วงปริมาณฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ จะมีความหนาเเน่นมากถึง 101 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ( ริมถนนพระรามที่3 – เจริญกรุง 22 ม.ค. 62,กรมควบคุมมลพิษ ) เเต่ก็ไม่ได้มีความหนาเเน่นตลอดทั้งปี เพราะเหตุนี้ทำให้เมื่อเฉลี่ยเเล้วจึงไม่ติดอันดับ 
.
เเต่ที่น่าตกใจกว่า คือต่างจังหวัด เพราะมีค่ามลพิษตลอดปีสูงกว่ากรุงเทพฯเเบบค้านต่อความรู้สึกเรา เพราะเรามักจะคิดว่ากรุงเทพฯน่าจะมีมลพิษเฉลี่ยต่อปีสูงที่สุด

เพราะมลพิษมีอยู่ทุกที่ เเม้ในที่ที่เราคาดไม่ถึง ดังนั้น สิ่งที่เราควรทำ คือ การเตรียมตัวเเละหาทางลดความเสี่ยงที่เราจะได้รับจาก PM2.5 เพราะไม่เช่นนั้นเเล้ว เราก็คงจะได้เป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ ทั้งๆที่ไม่ได้สูบบุหรี่ เเละไม่ได้อาศัยอยู่ในตัวเมืองเลยก็ตาม💨🤦‍♂️🙅‍♀️
.
อ้างอิง: https://bit.ly/2Knf7AZ
https://bit.ly/2urTSGw

#CleanAirEverywhere #iblethailand

- บทความที่เกี่ยวข้อง -

อันตรายใกล้ตัว คนทั่วโลกทุก 9ใน10คน กำลังหายใจเอามลพิษร้ายเเรง 5 ชนิดเข้าสู่ร่างกาย

อันตรายใกล้ตัว คนทั่วโลกทุก 9 ใน 10 คน กำลังหายใจเอามลพิษร้ายเเรง 5 ชนิดเข้าสู่ร่างกาย

องค์กรอนามัยโลก ประเมินว่าประชากรโลก 90% กำลังหายใจเอามลพิษร้ายเเรงอย่าง PM2.5 PM10 ก๊าซพิษจากรถยนต์ สารก่อโลกภูมิเเพ้ เเละเชื้อเเบคทีเรีย ไวรัสต่างๆ เข้าไปในร่างกาย

หนึ่งในมลพิษที่เป็นประเด็นมากที่สุดในช่วงนี้ ก็คงต้องเป็น PM2.5 เพราะมันมีขนาดเล็กมากๆ เล็กกว่าเส้นผมถึง 30เท่า ด้วยขนาดที่เล็กขนาดนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จึงสามารถเข้าสู่ปอดเเละกระเเสเลือดได้ ซึ่งเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ

นอกจากนั้น PM2.5 ยังซึมผ่านเข้าไปยังสมองได้โดยตรง เเละก็ให้เกิดกระบวนการอักเสบในสมอง ทำให้เซลล์สมองได้รับการบาดเจ็บ เกิดภาวะสมองเสื่อมเร็วกว่าปกติ รวมทั้งยังพบว่าทำให้เกิดการก่อตัวของก้อนโปรตีนที่ผิดปกติในสมอง ทำให้มีลักษณะคล้ายกับคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์หรือโรคพาร์กินสัน เเละยังทำให้สมองส่วนเนื้อขาว มีการฝ่อเหี่ยวมากกว่าคนปกติอีกด้วย

PM2.5 ไม่ใช่มลพิษเพียงตัวเดียว ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เเต่ยังมี PM10 ที่ถึงเเม้จะไม่สามารถเข้าไปในระบบภายในได้ เเต่ก็สามารถก่อให้เกิดโรคหอบหืดได้

ก๊าซพิษจากรถยนต์ อย่าง คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2) ซึ่งส่งผลให้เกิดการระคายเคืองตาเเละระบบทางเดินหายใจ ร่างกายขาดออกซิเจน เหนื่อยง่าย หายใจอึดอัด ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจถึงทำให้เสียชีวิตได้

อีกทั้งยังมีสารก่อภูมิเเพ้ต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคภูมิเเพ้ เเละเชื้อเเบคทีเรีย ไวรัสต่างๆ ที่เป็นพาหะที่ก่อให้เกิดโรคร้ายเเรงได้

ในวันนี้ เราคงได้เห็นกันเเล้วว่าฝุ่น PM 2.5 รวมทั้งมลภาวะในอากาศชนิดอื่น ๆ มีผลกระทบต่อร่างกายในหลายระบบมากๆ

เราคงต้องตะหนักเเละหาทางหลีกเลี่ยงหรือป้องกันมลพิษให้ได้ ไม่เช่นนั้นเเล้ว สักวันนึง โรคร้ายจะต้องมาเยือนเราอย่างเเน่นอน

#CleanAirEverywhere
#iblethailand

อ้างอิง : https://bit.ly/2Knf7AZ

https://bbc.in/2OD8rDW

https://bbc.in/2IccWRe

https://bit.ly/2YAqwXb

https://bit.ly/2Lqxm7S