การได้รับ PM2.5 ในความหนาเเน่นนี้ หากได้รับเฉลี่ยติดต่อกัน 24ชั่วโมง จะมีอันตรายต่อสุขภาพเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ประมาณ 1-2 มวนต่อวัน!
.
PM2.5 ในไทยมีสาเหตุมาจากอะไร?
โดยทั่วไปเเล้ว แหล่งกำเนิดมลพิษในประเทศไทยมาจากการเผาในที่โล่ง การปลดปล่อยจากยานพาหนะ การขนส่ง เเละโรงงานอุตสาหกรรม
.
มีจังหวัดใดบ้าง เแต่ละที่มีค่ามลพิษสูงเท่าใด?
จากรายงานของ IQAir Airvisual เมืองที่มีมลพิษสูงที่สุดในภูมิภาค คือ เมืองจาการ์ตา อินโดนีเซียที่มีค่าเฉลี่ยมลพิษสูงถึง 45.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ตามมาด้วย อันดับที่ 2 เมืองฮานอย เวียดนาม 40.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
อันดับที่ 3 สมุทรสาคร 39.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
อันดับที่ 4 นครราชสีมา 37.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
อันดับที่ 5 หนองคาย 37.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
อันดับที่ 6 สระบุรี 32.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
อันดับที่ 7 เมย์กาวายัน ฟิลิปปินส์ 32.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
อันดับที่ 8 สมุทรปราการ 32.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
อันดับที่ 9 ราชบุรี 32.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
อันดับที่ 10 เเม่สอด 32.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
.
แล้วทำไมถึงไม่มีกรุงเทพฯ?
เนื่องจากเป็นค่าเฉลี่ยที่วัดตลอดปี เเม้บางช่วงปริมาณฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ จะมีความหนาเเน่นมากถึง 101 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ( ริมถนนพระรามที่3 – เจริญกรุง 22 ม.ค. 62,กรมควบคุมมลพิษ ) เเต่ก็ไม่ได้มีความหนาเเน่นตลอดทั้งปี เพราะเหตุนี้ทำให้เมื่อเฉลี่ยเเล้วจึงไม่ติดอันดับ
.
เเต่ที่น่าตกใจกว่า คือต่างจังหวัด เพราะมีค่ามลพิษตลอดปีสูงกว่ากรุงเทพฯเเบบค้านต่อความรู้สึกเรา เพราะเรามักจะคิดว่ากรุงเทพฯน่าจะมีมลพิษเฉลี่ยต่อปีสูงที่สุด
.
เพราะมลพิษมีอยู่ทุกที่ เเม้ในที่ที่เราคาดไม่ถึง ดังนั้น สิ่งที่เราควรทำ คือ การเตรียมตัวเเละหาทางลดความเสี่ยงที่เราจะได้รับจาก PM2.5 เพราะไม่เช่นนั้นเเล้ว เราก็คงจะได้เป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ ทั้งๆที่ไม่ได้สูบบุหรี่ เเละไม่ได้อาศัยอยู่ในตัวเมืองเลยก็ตาม💨🤦♂️🙅♀️
.
อ้างอิง: https://bit.ly/2Knf7AZ
https://bit.ly/2urTSGw
#CleanAirEverywhere #iblethailand